จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

เสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศให้กับ ฟูจิ และ เอ็มเค

การเสนอวิธีการทำตลาดให้กับ "ฟูจิ"



     การตลาด (Marketing) เป็นกระบวนการทางสังคมและการจัดการ (Social and managerial process) ซึ่งบุคคลและกลุ่มบุคคลได้รับสิ่งที่สนองความจำเป็นและความต้องการของเขาจากการสร้าง (Creation) และการแลกเปลี่ยน (Exchanging) สินค้าและคุณค่ากับบุคคลอื่น (Kotler and Armstorng. 2001 : G – 6)

กิจกรรมทางด้านการตลาด (Marketing activities) ที่สำคัญๆ มีดังต่อไปนี้

(1) การศึกษาลูกค้าผู้ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย (Prospective buyers)

(2) การกำหนดส่วนประสมการตลาด (Marketing mix) ซึ่งประกอบด้วย
    -(2.1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Develop the products or services)
    -(2.2) การกำหนดราคาและเงื่อนไข การชำระเงิน (Set prices and terms)
    -(2.3) การจัดจำหน่าย (Distribution หรือ Place)

(3) การใช้การสื่อสารทางการตลาด (Marketing communication) หรือการส่งเสริมการตลาด (Promotion)

การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing) ประกอบด้วย การค้นหา (Finding) และการสนองตอบความต้องการ (Satisfying) ของลูกค้าทั่วโลกโดยให้เหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งคู่แข่งขันภายในประเทศและคู่แข่งขันจากต่างประเทศ ตลอดจนการประสานงานกิจกรรมการตลาดร่วมกันภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก (Terpstra and Sarathy. 2000 : 12)

รายละเอียดและส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญของการทำการตลาดระหว่างประเทศโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่
    
     (1) การค้นหาความต้องการของลูกค้าระดับโลก
     (2) การตอบสนองความต้องการของลูกค้าระดับโลก
     (3) การทำให้มีคุณภาพและมีกลุยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน
     (4) การประสมประสานและการประสานกิจกรรมการตลาด
     (5) การตระหนักถึงข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก


การเสนอวิธีการทำตลาดให้กับ MK

      กลยุทธ์ทางการตลาดจัดเป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจของผู้บริหาร ซึ่งปัจจุบันมีรูปแบบกลยุทธ์ให้เลือกมากมายสำหรับนำมาปรับใช้เพื่อความเหมาะสมของธุรกิจ แต่กลยุทธ์ที่ต้องถือเป็นต้นแบบทางการตลาดอย่างแท้จริงคงเห็นจะหนีไม่พ้นกลยุทธ์ 8P เพราะนักธุรกิจทั่วโลกต่างยกนิ้วและให้การยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการทำการตลาดค่อนข้างสูงสามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจนอีกทั้งยังถือว่ากลยุทธ์นี้เป็นแม่บทในการพัฒนากลยุทธ์ซีรี่ย์ต่างๆตามหลังออกมาในปัจจุบันอีกด้วย จึงเป็นสิ่งสมควรที่ผู้ประกอบการจะต้องทำความรู้จักและศึกษาเรียนรู้ความหมายเกี่ยวกับกลยุทธ์ดังกล่าวนี้อย่างที่สุด

                                                                                                                                                                              

1. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product Strategy)

     กลยุทธ์ในส่วนแรกนี้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับตัวผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนของคุณสมบัติส่วนตัวที่ต้องตั้งเป้าว่าจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ในระดับความพึงพอใจขนาดไหน การนำสินค้าไปเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันในท้องตลาดว่ามีจุดเด่นและจุดด้อยอย่างไร นอกจากนี้ยังมีในส่วนของวัตถุดิบและสายงานการผลิตด้วย

2. กลยุทธ์ราคา (Price Strategy)

    การกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์สินค้าถือเป็นกลยุทธ์สำคัญของแผนงานทางการตลาดที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบมากขึ้น โดยการกำหนดราคาจะต้องคำนึงถึงปัจจัยของต้นทุนการผลิตบวกกับผลกำไรที่ต้องการจะได้จากการขายผลิตภัณฑ์แล้วจึงทำการกำหนดราคาขายออกมาโดยต้องคำนึงสภาพการแข่งขันของตลาดสินค้า นอกจากนี้การกำหนดราคายังมีนัยที่บ่งบอกถึงตำแหน่งที่ต้องการจะให้สินค้าไปยืนอยู่ด้วย ซึ่งการตั้งราคาอาจจะตั้งให้ใกล้เคียงกับสินค้าประเภทเดียวกันบนท้องตลาด หรือน้อยกว่าถ้าต้องการแย่งชิงฐานลูกค้า และมากกว่าถ้าต้องการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ให้อยู่เหนือกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไป
3. กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place Strategy)

     ช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของการวางกลยุทธ์ทางการตลาด เพราะถ้าสามารถหาช่องทางการกระจายสินค้าไปสู่มือผู้บริโภคได้มากเท่าไหร่ ผลกำไรก็จะเพิ่มสูงขึ้นมากเท่านั้น โดยช่องทางการจัดจำหน่ายที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันสองรูปแบบคือ การขายไปสู่มือของผู้บริโภคโดยตรงและการขายผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งสองวิธีนี้จะมีข้อแตกต่างอยู่ตรงที่ว่าการขายตรงไปสู่มือผู้ใช้สินค้าจะได้กำไรที่มากกว่า ในขณะที่การขายผ่านพ่อค้าคนกลางจะช่วยในเรื่องของยอดการจำหน่ายที่สูงขึ้นอันมีผลมาจากเครือข่ายที่พ่อค้าคนกลางได้วางเอาไว้นั่นเอง
4. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion Strategy)

     การส่งเสริมการตลาดถ้าจะให้เปรียบเทียบน่าจะเหมือนกับการใช้เข็มฉีดยารักษาโรค เพราจะมีประสิทธิภาพช่วยในการขายสินค้าได้เป็นอย่างดี ถ้าโปรโมชั่นที่ออกมาโดนใจลูกค้าก็จะช่วยให้ยอดขายและผลกำไรทวีสูงมากยิ่งขึ้น โดยกลยุทธ์การตลาดนี้จะต้องช่วยส่งเสริมและสอดคล้องไปกันได้กับกลยุทธ์อย่างอื่นด้วย โดยการส่งเสริมการตลาดนี้สามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการลด แลก แจก แถม เป็นต้น

5. กลยุทธ์บรรจุภัณฑ์ (Packaging Strategy)

     บรรจุภัณฑ์มีความสำคัญเปรียบเสมือนเป็นหน้าตาของสินค้า ดังนั้นการออกแบบดีไซน์รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์จึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยหลักสำคัญที่ควรจะต้องคำนึงถึงเมื่อทำการออกแบบบรรจุภัณฑ์ตามแผนการกลยุทธ์นี้ก็คือจะต้องมีความสวยงามเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์อีกทั้งความโดดเด่นเมื่อนำไปวางบนชั้นสินค้าเปรียบเทียบกันกับของคู่แข่งจะต้องมีความเหนือชั้นกว่าจึงจะประสบความสำเร็จตามแผนงานนี้

6. กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย (Personal Strategy)

     ทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยทำให้ยอดขายทะยานไต่ระดับพุ่งสูงขึ้นก็คือการเลือกใช้กลยุทธ์พนักงานขายเป็นตัวช่วยส่งเสริม การขายสินค้าโดยใช้พนักงานถือเป็นศิลปะการขายขั้นสูงที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้ง่ายๆ พนักงานขายที่มีความรู้ความสามารถบวกกับประสบการณ์จะมีเทคนิคการจูงใจลูกค้าให้เข้ามาสนใจและนำพาไปสู่ action นั่นก็คือการตัดสินใจซื้อในที่สุด

7. กลยุทธ์ข่าวสาร (Public Relation Strategy)

     ยุคโลกไร้พรมแดนอย่างในปัจจุบัน การสื่อสารคือกุญแจสำคัญที่นำไปใช้ไขสู่ประตูความสำเร็จ เพราะสภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตของผู้คมในสังคมเมืองและชนบทถูกแวดล้อมไปด้วยสื่อต่างๆมากมาย การใช้กลยุทธ์ข่าวสารเข้ามาเป็นทัพเสริมอีกแรงหนึ่งในการทำการตลาดจะช่วยอำนวยผลในเรื่องของภาพพจน์และเพิ่มทัศนคติในเชิงบวกให้เกิดกับผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ

8. กลยุทธ์การใช้พลัง (Power Strategy)

     พลังในที่นี้หมายถึงอำนาจในการต่อรองและควบคุม ซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในการเนรมิตให้เกิดขึ้น แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและจะขาดเสียไม่ได้ในองค์ประกอบตัวพีส่วนสุดท้ายนี้ เพราะอำนาจต่อรองจะสามารถเป็นพลังพิเศษเปรียบเสมือนมือที่มองไม่เห็น ที่จะนำมาใช้ต่อรองแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการค้าให้บริษัทได้รับข้อเสนอที่ดีที่สุดในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันตามกรอบได้อย่างลงตัว

กลยุทธ์ 8P ตามที่ได้กล่าวมานี้เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่นักธุรกิจส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นบรรทัดฐานในการทำการตลาดให้กับบริษัทของตนเองกันทุกคน โดยมีข้อแตกต่างกันตรงที่บางบริษัทกับประสบความสำเร็จแต่บางบริษัทกับล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะบริษัทที่ล้มเหลวไม่อาจจะสร้างองค์ประกอบทางกลยุทธ์ตัวพีขึ้นมาได้ครบทุกตามวงจร ดังนั้นผู้ประกอบการที่สนใจจะใช้กลยุทธ์นี้ทำการตลาดให้ได้อย่างเห็นผลประจักษ์จะต้องเอาใจใส่ในทุกรายละเอียดของแต่ละกลยุทธ์เพื่อสร้างสรรค์ตัว P ทั้งแปดให้เกิดขึ้นมาให้ได้

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้สึกที่ลองกินขนมอินเดีย


ความรู้สึกที่ไปชิมขนมอินเดีย

            ฉันได้มีโอกาศไปทานขนมอินเดียที่ร้าน panjab sweet ตรงข้าง ห้างที่เค้าเรียกกันว่า อิมพีเรียล อินเดีย ครั้งแรกที่เดินเข้าไป เจ้าของร้านก็ต้อนรับอย่างดี เค้าบอกว่าลองเข้ามาดูได้ ไม่ซื้อก็เข้ามาดูได้
                     




เจ้าของร้านเป็นคนอินเดียแต่พูดภาษาไทยคล่องดีค่ะ ด้วยท่าทางที่เป็นมิตร ไม่รู้สึกเกร็งเลยเมื่ออยู่ในร้าน เจ้าของร้านเค้าให้ชิมทุกอย่างเลย แล้วก็เลยซื้อกลับหลาย ๆ อย่าง

ความรู้สึกที่ได้ชิมขนม : ขนมของอินเดียสีสันค่อนข้างฉูดฉาด สวยงาม มีการแปะ แผ่นเงินเปลวด้วย น่าตาของขนมไม่เคยเห็นมาก่อน เมื่อลองทานแล้วรสชาติหวานมาก ๆๆ หวานนมข้น และหอมนมมาก ๆ


อันนี้ ชื่อว่า ดอกกุหลาบจามุน  รสชาติ หวานมาก  มีหลายสี สีขาวจะหวานที่สุด

  แล้วมี ลาดูฟ ขนมไหว้พระพิฆเนศ ก็ได้ลองชิม ก็หวานน้อยกว่า จามุนหน่อยนึง ชิมอีกเป็นสิบกว่าอย่างจำชื่อไม่ค่อยได้แล้ว แต่อย่างนึงที่สังเกตุได้ว่า ขนมของอินเดียเค้ามีเอกลักษณ์ คือ รสชาติที่หวานนมข้น หอมนม และสีสันที่สวยงาม ก็ถือว่าประทับในระดับนึงเลยค่ะ

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออกของไทย

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

                      
      ปัจจุบันอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีอัตราการขยายตัวสูง  เนื่องจากได้รับ
การยอมรับจากผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการดำรงชีวิตประจำวัน  แต่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็มีการแข่งขันที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น  พิจารณาจากจำนวนผู้ผลิต  และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์  ซึ่งทำให้ผู้ผลิตต้องแข่งขันโดยการที่ต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ประกอบกับต้องแสวงหาตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น    เพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายให้มีช่องทางมากยิ่งกว่าจะพึ่งเพียงตลาดภายในประเทศเท่านั้น

            


การผลิต

           ในอดีตเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้นำเข้าจากต่างประเทศ  คือ  ประเทศญี่ปุ่น  แต่ในระยะต้นๆ  ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากคนไทยเท่าใดนัก  จากเหตุผลด้านรสชาติและราคา  ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีการผลิตและการวิจัยตลาด  ทำให้เกิดการยอมรับในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  ประกอบกับภาวะการครองชีพและวิถีชีวิตของคนไทยได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบตะวันตกมากขึ้น    ความสะดวกรวดเร็วและราคาที่เหมาะสม  เป็นปัจจัยที่ถูกใช้เป็นตัวเลือก  ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจึงเป็นทางเลือกสำหรับการบริโภคมากยิ่งขึ้น  และนับวันยิ่งเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของปัจจุบันมีผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหลายรายโดยมีเครื่องหมายการค้าที่สำคัญๆ
 

            
ตลาดนำเข้า - ส่งออก

     การนำเข้า การนำเข้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทยส่วนใหญ่นำเข้าเพื่อ สนอง
ความต้องการของชาวต่างประเทศที่อาศัยหรือทำงานในประเทศไทยซึ่งมีอำนาจซื้อค่อนข้างสูง ได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี ปริมาณและมูลค่าไม่สูงนักเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออก แต่หากพิจารณาการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น แป้งสาลี ที่นำเข้าจากญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ และข้าวสาลี ที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาผลิตเป็นแป้งสาลีอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งประเทศไทยไม่สามารถผลิตข้าวสาลีได้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ

      การส่งออก มูลค่าการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทยมีการขยายตัว
ค่อนข้างสูงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2540 แต่การส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ยังขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้น กล่าวคือ ในปี 2540 มูลค่าการส่งออก 5,531.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ที่มีมูลค่าส่งออก 4,814.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 และในปี 2542 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 6,778.3 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2541 ที่มีมูลค่า 5,868 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ซึ่งเมื่อเฉลี่ยอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกแล้วเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 12.3 ต่อปี ปัจจุบันเมื่อพิจารณามูลค่าส่งออก 6 เดือนแรกของปี 2544 ที่มีมูลค่า 3,939.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2543 ประมาณร้อยละ 17.3 เนื่องจากความต้องการบริโภคในตลาดโลกมีมาก ประกอบกับประเทศไทยมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย สามารถผลิตได้ในปริมาณสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ จึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติ เครื่องหมายการค้าของผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ส่งออกมีทั้งยี่ห้อที่จำหน่ายในประเทศและยี่ห้อที่ผลิตเพื่อส่งออกโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น ฟันแลนด์ (Funland) ซันไชน์ (Sunshine) ไทยเชฟ (Thaichef) และเมนเดเก้ (Mendake) เป็นต้น

       ตลาดส่งออกของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ได้เปลี่ยนแปลงไปจากในช่วงปี 2537-2538 ที่มีสหรัฐอเมริกา เป็นตลาดที่มีส่วนแบ่งตลาดส่งออกสูงที่สุด คือ ประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าส่งออกรวม รองลงมา ได้แก่ อาเซียน ยุโรป และญี่ปุ่น ร้อยละ 14, 7.5 และ 9 ต่อมาในช่วงตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบัน ตลาดส่งออกหลักของไทย คือ อาเซียน คือประมาณร้อยละ 22 ของมูลค่าส่งออก รองลงมา คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป ร้อยละ 18, 17 และ 11 ซึ่งจะเห็นได้ว่าการกระจุกตัวของตลาดส่งออกมีมากขึ้น และได้เปลี่ยนแปลงจากตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดอาเซียนแทน เนื่องจากต้นทุนการขนส่งต่ำกว่า ประกอบกับรสนิยมของการบริโภคไม่แตกต่างกันมากนัก จึงทำให้มูลค่าการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในตลาดอาเซียนขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน

ปัญหาและอุปสรรค


      1. การแข่งขันในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีความรุนแรงโดยเฉพาะตลาดระดับกลางจึงทำให้บริษัทรายใหม่ก้าวเข้าสู่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ยาก

      2.บริษัทผู้ผลิตมีค่าใช้จ่ายสูงในต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเครื่องจักรที่ต้องนำเข้าจากต่าง
ประเทศ ค่าใช้จ่ายทางการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและแปลกใหม่เพื่อจูงใจลูกค้าลุกค้า

      3.ค่าแรงงานในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิต และมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของชาวต่างชาติในการเข้ามาลงทุนผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทยได้

      4.บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีอายุประมาณ 6 เดือน หากการระบายสินค้าไม่ทันก็จะเกิดต้นทุนสูญเปล่า เพราะผู้ผลิตต้องเก็บสินค้าหมดอายุจากตลาดเพื่อรักษาภาพพจน์
      5.ปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น ภาชนะบรรจุที่ทำจากโฟมและพลาสติกซึ่งย่อยสลายได้ยาก จึงมีการรณรงค์ให้ใช้โฟมที่ไม่ทำลายโอโซนแทน

  

การวิเคราะห์  SWOT ของข้าวและอุตสาหกรรมแปรรูปข้าว



จุดแข็ง (STRENGH : S)     

     
      1) วัตถุดิบส่วนใหญ่สามารถหาได้จากในประเทศ ศักยภาพในการผลิตวัตถุดิบสูง เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรและมีประสบการณ์ในการเพาะปลูกสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ยกเว้น ข้าวสาลี

     2) ต้นทุนค่าแรงงานยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว

     3) ผู้ประกอบการมีประสบการณ์ในการผลิตยาวนาน มีการวิจัยตลาดเพื่อวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป



จุดอ่อน (WEAKNESS : W)     


1) แม้ว่าวัตถุดิบจะใช้ในประเทศ แต่ต้นทุนการผลิตวัตถุดิบก็มีแนวโน้มสูงขึ้นจึงทำให้ผู้ผลิตวัตถุดิบเป็นกลุ่มประชากรที่มีสัดส่วนในรายได้ประชาชาติต่ำกว่าที่ควร

      2) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวยังมีน้อย มีผลงานการวิจัย แต่ไม่สามารถพัฒนาในลักษณะเชิงพาณิชย์ได้มากนัก

      3) ขาดองค์กรเฉพาะทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวและเทคโนโลยีการผลิต
ที่ชัดเจน และองค์กรเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบไม่เข้มแข็ง 





โอกาส (OPPORTUNITY : O)


     1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและวิจัยตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะอาหารเช้าที่ทำจากธัญพืช (ซีเรียล) อาหารสำเร็จรูปที่มีข้าวเป็นส่วนประกอบ เส้นหมี่และขนมอบกรอบ และต้องพิจารณาการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตอย่างประหยัดต่อขนาดด้วย

      2) ควรมีการเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้เพิ่มมากขึ้น อันจะนำมาซึ่งเทคโนโลยี
การผลิตที่ทันสมัย และเพิ่มปริมาณการส่งออกในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามที่ตลาดต้องการได้ ทั้งนี้ควรให้ความสำคัญกับตลาดจีน ซึ่งควรหาผู้ร่วมทุนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีจากบริษัทต่างชาติ

     3) การพัฒนาศักยภาพการผลิตข้าวสาลีในประเทศ เพื่อสนองกับความต้องการในประเทศและลดการนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศ จะทำให้ความมั่นคงในการผลิตมีมากขึ้น


ข้อจำกัด (THREAT : T)

     1) การส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์ยังคงมีการกีดกันการค้าในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่
เป็นมาตรการด้านภาษี ในรูปของการกำหนดให้เป็นรายการที่ต้องขออนุญาตนำเข้า รวมทั้งกีดกันในรูปการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสูง โดยบางประเทศจัดเก็บภาษีนำเข้าแบบก้าวหน้าหรือขั้นบันไดตามลำดับขั้นตอนของกระบวนการแปรรูป และบางประเทศได้ใช้มาตรการไม่ใช่ภาษี เช่น สุขอนามัยพืช และสุขอนามัยอาหาร

     2) การส่งออกยังมีปัญหาในการกำหนดราคาขายในรูปของราคา FOB เนื่องจาก
การพาณิชย์นาวีของไทยยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ยังต้องพึ่งพาเรือต่างประเทศ ซึ่งต้องประสบปัญหาการขึ้นราคาค่าระวางเรือและค่าตู้คอนเทนเนอร์ในอัตราที่สูง นอกจากนี้ยังมีปัญหาในด้านขั้นตอนการส่งออกที่ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน


     3) การขาดเทคโนโลยีในการประชาสัมพันธ์สินค้าในต่างประเทศที่ทันสมัยการขยายตลาดใหม่ๆ จึงทำได้ยากและเสียโอกาสทางการตลาด






   


วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เนเธอร์แลนด์(Netherlands)

ความเป็นมาประเทศเนเธอร์แลนด์



        เนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Nederland ; อังกฤษ: the Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ "ฮอลันดา"มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Kingdom of the Netherlands) มีรากศัพท์มาจากคำว่า “Neder” หรือ “ต่ำ” เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเนเธอร์แลนด์เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ประมาณหนึ่งในสี่ของประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เนเธอร์แลนด์ได้ปรับพื้นที่โดยการสูบน้ำออกจากทะเลสาบและทางน้ำต่าง ๆ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ เนเธอร์แลนด์จึงมี เขื่อน ทางระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำจำนวนมาก เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศประสบภาวะอุทกภัย เนเธอร์แลนด์จึงมีสิ่งก่อสร้างด้านวิศวกรรมการจัดการน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก




เศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์



         
            ชาวเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการค้ามาช้านาน ทั้งการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง และการค้ากับประเทศในภูมิภาคอื่นของโลก สาเหตุที่ทำให้เชี่ยวชาญด้านนี้มีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ที่สำคัญคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่านมาจากหลายประเทศในยุโรป ไปออกทะเลที่ประเทศของตน ทำให้หลายเมืองของเนเธอร์แลนด์ กลายเป็นท่าเรือ ที่สำคัญ คือ ท่าเรือรอตเตอร์ดัม (Rotterdam) ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่และมีความสำคัญทางด้านการค้าระหว่างประเทศมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกจึงเปิดโอกาสให้ชาวเนเธอร์แลนด์ทำการค้าได้สะดวก

                    ประการถัดมา จากการอยู่ใกล้ทะเล ทำให้มีโอกาสได้เห็นการค้าทางเรือผ่านไปมาเสมอ ทำให้เป็นแรงบรรดาลใจให้สนใจทำการค้า รวมทั้งการค้าขายทางเรือตามไปด้วย เพราะสามารถไปได้ไกลๆ จนมีการค้ากับประเทศในแถบเอเซีย และอเมริกามาแต่สมัยโบราณ ยิ่งไปกว่านั้น การที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก ชาวดัตช์ต้องอาศัยการเกษตรกรรม การประมง เลี้ยงสัตว์ ไม่มีแร่ธาตุสำคัญ (น้ำมัน และกาซธรรมชาติมาค้นพบในระยะหลังๆ) ดังนั้น จึงต้องอาศัยการค้าเป็นหลัก เพื่อความอยู่รอด จนได้รับการขนานนามว่าเป็นชาตินักการค้า (Trading nation)และประสบความสำเร็จในด้านการค้ามาตลอด ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ความเชี่ยวชาญด้านการค้านั้น ดูได้จากการค้าระหว่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น และ ได้เปรียบดุลการค้ามาตลอดหลายปีติดต่อกัน




ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์



        ปี 2144 พ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์เริ่มเข้ามาตั้งสถานีการค้าในคาบสมุทรมลายู รวมทั้งเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นประเทศราชของไทยในขณะนั้น ต่อมาในปี 2145 เมื่อมีการก่อตั้งบริษัท Vereigde Oostindische Compangnie (VOC) หรือบริษัท Dutch East India ขึ้นในเนเธอร์แลนด์ สถานีการค้าเหล่านั้น จึงได้รวมเข้าด้วยกัน และอยู่ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานการค้า VOC ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยและเนเธอร์แลนด์ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่นั้น

        ปี 2147 ถือว่าเป็นปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย กับเนเธอร์แลนด์อย่างเป็นทางการ โดยคณะผู้แทนทางการทูตของเนเธอร์แลนด์ ได้เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี และแสวงหาลู่ทางขยายการค้ากับจีน โดยมีแผนร่วมเดินทางไปจีนร่วมกับคณะทูตของไทย แต่การเดินทางดังกล่าวต้องยกเลิกไป เนื่องจากเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่า อีกทั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จฯ สวรรคต เมื่อเดือนเมษายน 2148 ต่อมาในปีเดียวกัน สมเด็จพระเอกาทศรถได้ส่งคณะทูตไทย จำนวน 15 คน เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับเนเธอร์แลนด์ โดยราชทูตไทยได้เข้าเฝ้าฯ เจ้าชายมอริสแห่งราชวงศ์ออเรนจ์ของเนเธอร์แลนด์ และได้ถวายพระราชสาสน์ของสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อปี 2151 เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศในยุโรปประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญทางการค้าและการเมืองในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการเมืองและการค้ากับไทย

        เมื่อปี 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เยือนเนเธอร์แลนด์ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนเนเธอร์แลนด์อย่าง เป็นทางการ เมื่อปี 2503 ต่อจากนั้น ก็ได้มีการเยือนของพระราชวงศ์ทั้งสองอย่างสม่ำเสมอ

        ในปี 2547 เป็นปีที่มีความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์ เนื่องจากเป็นวาระครบรอบ 400 ปี สัมพันธไมตรี ไทย – เนเธอร์แลนด์ โดยรัฐบาลไทยได้จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อฉลองวาระดังกล่าวในไทย และภาคเอกชนเนเธอร์แลนด์โดยมูลนิธิ VOC เป็นองค์กรผู้ประสานงานจัดกิจกรรมฉลองในเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 -23 มกราคม 2547 สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ พร้อมด้วยเจ้าชายวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ มกุฎราชกุมารแห่งเนเธอร์แลนด์ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นับเป็นการเปิดศักราชแห่งการฉลองฯ และเป็นโอกาสในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เนเธอร์แลนด์(Netherlands)

ความเป็นมาประเทศเนเธอร์แลนด์



             เนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Nederland ; อังกฤษ: the Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ "ฮอลันดา"มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Kingdom of the Netherlands) มีรากศัพท์มาจากคำว่า “Neder” หรือ “ต่ำ” เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเนเธอร์แลนด์เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ประมาณหนึ่งในสี่ของประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เนเธอร์แลนด์ได้ปรับพื้นที่โดยการสูบน้ำออกจากทะเลสาบและทางน้ำต่าง ๆ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ เนเธอร์แลนด์จึงมี เขื่อน ทางระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำจำนวนมาก เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศประสบภาวะอุทกภัย เนเธอร์แลนด์จึงมีสิ่งก่อสร้างด้านวิศวกรรมการจัดการน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก



เศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์




          ชาวเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการค้ามาช้านาน ทั้งการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง และการค้ากับประเทศในภูมิภาคอื่นของโลก สาเหตุที่ทำให้เชี่ยวชาญด้านนี้มีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ที่สำคัญคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่านมาจากหลายประเทศในยุโรป ไปออกทะเลที่ประเทศของตน ทำให้หลายเมืองของเนเธอร์แลนด์ กลายเป็นท่าเรือ ที่สำคัญ คือ ท่าเรือรอตเตอร์ดัม (Rotterdam) ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่และมีความสำคัญทางด้านการค้าระหว่างประเทศมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกจึงเปิดโอกาสให้ชาวเนเธอร์แลนด์ทำการค้าได้สะดวก

          ประการถัดมา จากการอยู่ใกล้ทะเล ทำให้มีโอกาสได้เห็นการค้าทางเรือผ่านไปมาเสมอ ทำให้เป็นแรงบรรดาลใจให้สนใจทำการค้า รวมทั้งการค้าขายทางเรือตามไปด้วย เพราะสามารถไปได้ไกลๆ จนมีการค้ากับประเทศในแถบเอเซีย และอเมริกามาแต่สมัยโบราณ ยิ่งไปกว่านั้น การที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก ชาวดัตช์ต้องอาศัยการเกษตรกรรม การประมง เลี้ยงสัตว์ ไม่มีแร่ธาตุสำคัญ (น้ำมัน และกาซธรรมชาติมาค้นพบในระยะหลังๆ) ดังนั้น จึงต้องอาศัยการค้าเป็นหลัก เพื่อความอยู่รอด จนได้รับการขนานนามว่าเป็นชาตินักการค้า (Trading nation)และประสบความสำเร็จในด้านการค้ามาตลอด ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ความเชี่ยวชาญด้านการค้านั้น ดูได้จากการค้าระหว่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น และ ได้เปรียบดุลการค้ามาตลอดหลายปีติดต่อกัน


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ความสัมพันธ์ทางการทูตและการเมือง
             


             ปี 2144 พ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์เริ่มเข้ามาตั้งสถานีการค้าในคาบสมุทรมลายู รวมทั้งเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นประเทศราชของไทยในขณะนั้น ต่อมาในปี 2145 เมื่อมีการก่อตั้งบริษัท Vereigde Oostindische Compangnie (VOC) หรือบริษัท Dutch East India ขึ้นในเนเธอร์แลนด์ สถานีการค้าเหล่านั้น จึงได้รวมเข้าด้วยกัน และอยู่ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานการค้า VOC ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยและเนเธอร์แลนด์ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่นั้น

             ปี 2147 ถือว่าเป็นปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย กับเนเธอร์แลนด์อย่างเป็นทางการ โดยคณะผู้แทนทางการทูตของเนเธอร์แลนด์ ได้เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี และแสวงหาลู่ทางขยายการค้ากับจีน โดยมีแผนร่วมเดินทางไปจีนร่วมกับคณะทูตของไทย แต่การเดินทางดังกล่าวต้องยกเลิกไป เนื่องจากเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่า อีกทั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จฯ สวรรคต เมื่อเดือนเมษายน 2148 ต่อมาในปีเดียวกัน สมเด็จพระเอกาทศรถได้ส่งคณะทูตไทย จำนวน 15 คน เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับเนเธอร์แลนด์ โดยราชทูตไทยได้เข้าเฝ้าฯ เจ้าชายมอริสแห่งราชวงศ์ออเรนจ์ของเนเธอร์แลนด์ และได้ถวายพระราชสาสน์ของสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อปี 2151 เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศในยุโรปประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญทางการค้าและการเมืองในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการเมืองและการค้ากับไทย

             เมื่อปี 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เยือนเนเธอร์แลนด์ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนเนเธอร์แลนด์อย่าง เป็นทางการ เมื่อปี 2503 ต่อจากนั้น ก็ได้มีการเยือนของพระราชวงศ์ทั้งสองอย่างสม่ำเสมอ

             ในปี 2547 เป็นปีที่มีความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์ เนื่องจากเป็นวาระครบรอบ 400 ปี สัมพันธไมตรี ไทย – เนเธอร์แลนด์ โดยรัฐบาลไทยได้จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อฉลองวาระดังกล่าวในไทย และภาคเอกชนเนเธอร์แลนด์โดยมูลนิธิ VOC เป็นองค์กรผู้ประสานงานจัดกิจกรรมฉลองในเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 -23 มกราคม 2547 สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ พร้อมด้วยเจ้าชายวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ มกุฎราชกุมารแห่งเนเธอร์แลนด์ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นับเป็นการเปิดศักราชแห่งการฉลองฯ และเป็นโอกาสในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น


การค้าระหว่างประเทศและการตลาดระหว่างประเทศ

ความแตกต่างของการค้าระหว่างประเทศและการตลาดระหว่างประเทศ


การค้าระหว่างประเทศ(International trade)

           การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
          
         ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น  ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ

 ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
     
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางภายใต้ระบบเศรษฐกิจเปิดการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหลายประการ ดังนี้
        1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
        2. ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
        3. ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง
        4. ปัจจัยการผลิตเอื้ออำนวย (Factors Endowment) แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศอย่างเหมาะสม




การตลาดระหว่างประเทศ

             การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
           
             การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด