จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออกของไทย

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

                      
      ปัจจุบันอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีอัตราการขยายตัวสูง  เนื่องจากได้รับ
การยอมรับจากผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการดำรงชีวิตประจำวัน  แต่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็มีการแข่งขันที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น  พิจารณาจากจำนวนผู้ผลิต  และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์  ซึ่งทำให้ผู้ผลิตต้องแข่งขันโดยการที่ต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ประกอบกับต้องแสวงหาตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น    เพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายให้มีช่องทางมากยิ่งกว่าจะพึ่งเพียงตลาดภายในประเทศเท่านั้น

            


การผลิต

           ในอดีตเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้นำเข้าจากต่างประเทศ  คือ  ประเทศญี่ปุ่น  แต่ในระยะต้นๆ  ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากคนไทยเท่าใดนัก  จากเหตุผลด้านรสชาติและราคา  ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีการผลิตและการวิจัยตลาด  ทำให้เกิดการยอมรับในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  ประกอบกับภาวะการครองชีพและวิถีชีวิตของคนไทยได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบตะวันตกมากขึ้น    ความสะดวกรวดเร็วและราคาที่เหมาะสม  เป็นปัจจัยที่ถูกใช้เป็นตัวเลือก  ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจึงเป็นทางเลือกสำหรับการบริโภคมากยิ่งขึ้น  และนับวันยิ่งเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของปัจจุบันมีผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหลายรายโดยมีเครื่องหมายการค้าที่สำคัญๆ
 

            
ตลาดนำเข้า - ส่งออก

     การนำเข้า การนำเข้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทยส่วนใหญ่นำเข้าเพื่อ สนอง
ความต้องการของชาวต่างประเทศที่อาศัยหรือทำงานในประเทศไทยซึ่งมีอำนาจซื้อค่อนข้างสูง ได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี ปริมาณและมูลค่าไม่สูงนักเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออก แต่หากพิจารณาการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น แป้งสาลี ที่นำเข้าจากญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ และข้าวสาลี ที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาผลิตเป็นแป้งสาลีอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งประเทศไทยไม่สามารถผลิตข้าวสาลีได้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ

      การส่งออก มูลค่าการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทยมีการขยายตัว
ค่อนข้างสูงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2540 แต่การส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ยังขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้น กล่าวคือ ในปี 2540 มูลค่าการส่งออก 5,531.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ที่มีมูลค่าส่งออก 4,814.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 และในปี 2542 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 6,778.3 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2541 ที่มีมูลค่า 5,868 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ซึ่งเมื่อเฉลี่ยอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกแล้วเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 12.3 ต่อปี ปัจจุบันเมื่อพิจารณามูลค่าส่งออก 6 เดือนแรกของปี 2544 ที่มีมูลค่า 3,939.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2543 ประมาณร้อยละ 17.3 เนื่องจากความต้องการบริโภคในตลาดโลกมีมาก ประกอบกับประเทศไทยมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย สามารถผลิตได้ในปริมาณสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ จึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติ เครื่องหมายการค้าของผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ส่งออกมีทั้งยี่ห้อที่จำหน่ายในประเทศและยี่ห้อที่ผลิตเพื่อส่งออกโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น ฟันแลนด์ (Funland) ซันไชน์ (Sunshine) ไทยเชฟ (Thaichef) และเมนเดเก้ (Mendake) เป็นต้น

       ตลาดส่งออกของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ได้เปลี่ยนแปลงไปจากในช่วงปี 2537-2538 ที่มีสหรัฐอเมริกา เป็นตลาดที่มีส่วนแบ่งตลาดส่งออกสูงที่สุด คือ ประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าส่งออกรวม รองลงมา ได้แก่ อาเซียน ยุโรป และญี่ปุ่น ร้อยละ 14, 7.5 และ 9 ต่อมาในช่วงตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบัน ตลาดส่งออกหลักของไทย คือ อาเซียน คือประมาณร้อยละ 22 ของมูลค่าส่งออก รองลงมา คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป ร้อยละ 18, 17 และ 11 ซึ่งจะเห็นได้ว่าการกระจุกตัวของตลาดส่งออกมีมากขึ้น และได้เปลี่ยนแปลงจากตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดอาเซียนแทน เนื่องจากต้นทุนการขนส่งต่ำกว่า ประกอบกับรสนิยมของการบริโภคไม่แตกต่างกันมากนัก จึงทำให้มูลค่าการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในตลาดอาเซียนขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน

ปัญหาและอุปสรรค


      1. การแข่งขันในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีความรุนแรงโดยเฉพาะตลาดระดับกลางจึงทำให้บริษัทรายใหม่ก้าวเข้าสู่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ยาก

      2.บริษัทผู้ผลิตมีค่าใช้จ่ายสูงในต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเครื่องจักรที่ต้องนำเข้าจากต่าง
ประเทศ ค่าใช้จ่ายทางการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและแปลกใหม่เพื่อจูงใจลูกค้าลุกค้า

      3.ค่าแรงงานในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิต และมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของชาวต่างชาติในการเข้ามาลงทุนผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทยได้

      4.บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีอายุประมาณ 6 เดือน หากการระบายสินค้าไม่ทันก็จะเกิดต้นทุนสูญเปล่า เพราะผู้ผลิตต้องเก็บสินค้าหมดอายุจากตลาดเพื่อรักษาภาพพจน์
      5.ปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น ภาชนะบรรจุที่ทำจากโฟมและพลาสติกซึ่งย่อยสลายได้ยาก จึงมีการรณรงค์ให้ใช้โฟมที่ไม่ทำลายโอโซนแทน

  

การวิเคราะห์  SWOT ของข้าวและอุตสาหกรรมแปรรูปข้าว



จุดแข็ง (STRENGH : S)     

     
      1) วัตถุดิบส่วนใหญ่สามารถหาได้จากในประเทศ ศักยภาพในการผลิตวัตถุดิบสูง เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรและมีประสบการณ์ในการเพาะปลูกสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ยกเว้น ข้าวสาลี

     2) ต้นทุนค่าแรงงานยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว

     3) ผู้ประกอบการมีประสบการณ์ในการผลิตยาวนาน มีการวิจัยตลาดเพื่อวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป



จุดอ่อน (WEAKNESS : W)     


1) แม้ว่าวัตถุดิบจะใช้ในประเทศ แต่ต้นทุนการผลิตวัตถุดิบก็มีแนวโน้มสูงขึ้นจึงทำให้ผู้ผลิตวัตถุดิบเป็นกลุ่มประชากรที่มีสัดส่วนในรายได้ประชาชาติต่ำกว่าที่ควร

      2) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวยังมีน้อย มีผลงานการวิจัย แต่ไม่สามารถพัฒนาในลักษณะเชิงพาณิชย์ได้มากนัก

      3) ขาดองค์กรเฉพาะทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวและเทคโนโลยีการผลิต
ที่ชัดเจน และองค์กรเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบไม่เข้มแข็ง 





โอกาส (OPPORTUNITY : O)


     1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและวิจัยตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะอาหารเช้าที่ทำจากธัญพืช (ซีเรียล) อาหารสำเร็จรูปที่มีข้าวเป็นส่วนประกอบ เส้นหมี่และขนมอบกรอบ และต้องพิจารณาการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตอย่างประหยัดต่อขนาดด้วย

      2) ควรมีการเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้เพิ่มมากขึ้น อันจะนำมาซึ่งเทคโนโลยี
การผลิตที่ทันสมัย และเพิ่มปริมาณการส่งออกในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามที่ตลาดต้องการได้ ทั้งนี้ควรให้ความสำคัญกับตลาดจีน ซึ่งควรหาผู้ร่วมทุนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีจากบริษัทต่างชาติ

     3) การพัฒนาศักยภาพการผลิตข้าวสาลีในประเทศ เพื่อสนองกับความต้องการในประเทศและลดการนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศ จะทำให้ความมั่นคงในการผลิตมีมากขึ้น


ข้อจำกัด (THREAT : T)

     1) การส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์ยังคงมีการกีดกันการค้าในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่
เป็นมาตรการด้านภาษี ในรูปของการกำหนดให้เป็นรายการที่ต้องขออนุญาตนำเข้า รวมทั้งกีดกันในรูปการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสูง โดยบางประเทศจัดเก็บภาษีนำเข้าแบบก้าวหน้าหรือขั้นบันไดตามลำดับขั้นตอนของกระบวนการแปรรูป และบางประเทศได้ใช้มาตรการไม่ใช่ภาษี เช่น สุขอนามัยพืช และสุขอนามัยอาหาร

     2) การส่งออกยังมีปัญหาในการกำหนดราคาขายในรูปของราคา FOB เนื่องจาก
การพาณิชย์นาวีของไทยยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ยังต้องพึ่งพาเรือต่างประเทศ ซึ่งต้องประสบปัญหาการขึ้นราคาค่าระวางเรือและค่าตู้คอนเทนเนอร์ในอัตราที่สูง นอกจากนี้ยังมีปัญหาในด้านขั้นตอนการส่งออกที่ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน


     3) การขาดเทคโนโลยีในการประชาสัมพันธ์สินค้าในต่างประเทศที่ทันสมัยการขยายตลาดใหม่ๆ จึงทำได้ยากและเสียโอกาสทางการตลาด






   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น