จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เนเธอร์แลนด์(Netherlands)

ความเป็นมาประเทศเนเธอร์แลนด์



             เนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Nederland ; อังกฤษ: the Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ "ฮอลันดา"มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Kingdom of the Netherlands) มีรากศัพท์มาจากคำว่า “Neder” หรือ “ต่ำ” เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเนเธอร์แลนด์เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ประมาณหนึ่งในสี่ของประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เนเธอร์แลนด์ได้ปรับพื้นที่โดยการสูบน้ำออกจากทะเลสาบและทางน้ำต่าง ๆ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ เนเธอร์แลนด์จึงมี เขื่อน ทางระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำจำนวนมาก เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศประสบภาวะอุทกภัย เนเธอร์แลนด์จึงมีสิ่งก่อสร้างด้านวิศวกรรมการจัดการน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก



เศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์




          ชาวเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการค้ามาช้านาน ทั้งการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง และการค้ากับประเทศในภูมิภาคอื่นของโลก สาเหตุที่ทำให้เชี่ยวชาญด้านนี้มีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ที่สำคัญคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่านมาจากหลายประเทศในยุโรป ไปออกทะเลที่ประเทศของตน ทำให้หลายเมืองของเนเธอร์แลนด์ กลายเป็นท่าเรือ ที่สำคัญ คือ ท่าเรือรอตเตอร์ดัม (Rotterdam) ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่และมีความสำคัญทางด้านการค้าระหว่างประเทศมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกจึงเปิดโอกาสให้ชาวเนเธอร์แลนด์ทำการค้าได้สะดวก

          ประการถัดมา จากการอยู่ใกล้ทะเล ทำให้มีโอกาสได้เห็นการค้าทางเรือผ่านไปมาเสมอ ทำให้เป็นแรงบรรดาลใจให้สนใจทำการค้า รวมทั้งการค้าขายทางเรือตามไปด้วย เพราะสามารถไปได้ไกลๆ จนมีการค้ากับประเทศในแถบเอเซีย และอเมริกามาแต่สมัยโบราณ ยิ่งไปกว่านั้น การที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก ชาวดัตช์ต้องอาศัยการเกษตรกรรม การประมง เลี้ยงสัตว์ ไม่มีแร่ธาตุสำคัญ (น้ำมัน และกาซธรรมชาติมาค้นพบในระยะหลังๆ) ดังนั้น จึงต้องอาศัยการค้าเป็นหลัก เพื่อความอยู่รอด จนได้รับการขนานนามว่าเป็นชาตินักการค้า (Trading nation)และประสบความสำเร็จในด้านการค้ามาตลอด ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ความเชี่ยวชาญด้านการค้านั้น ดูได้จากการค้าระหว่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น และ ได้เปรียบดุลการค้ามาตลอดหลายปีติดต่อกัน


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ความสัมพันธ์ทางการทูตและการเมือง
             


             ปี 2144 พ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์เริ่มเข้ามาตั้งสถานีการค้าในคาบสมุทรมลายู รวมทั้งเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นประเทศราชของไทยในขณะนั้น ต่อมาในปี 2145 เมื่อมีการก่อตั้งบริษัท Vereigde Oostindische Compangnie (VOC) หรือบริษัท Dutch East India ขึ้นในเนเธอร์แลนด์ สถานีการค้าเหล่านั้น จึงได้รวมเข้าด้วยกัน และอยู่ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานการค้า VOC ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยและเนเธอร์แลนด์ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่นั้น

             ปี 2147 ถือว่าเป็นปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย กับเนเธอร์แลนด์อย่างเป็นทางการ โดยคณะผู้แทนทางการทูตของเนเธอร์แลนด์ ได้เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี และแสวงหาลู่ทางขยายการค้ากับจีน โดยมีแผนร่วมเดินทางไปจีนร่วมกับคณะทูตของไทย แต่การเดินทางดังกล่าวต้องยกเลิกไป เนื่องจากเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่า อีกทั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จฯ สวรรคต เมื่อเดือนเมษายน 2148 ต่อมาในปีเดียวกัน สมเด็จพระเอกาทศรถได้ส่งคณะทูตไทย จำนวน 15 คน เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับเนเธอร์แลนด์ โดยราชทูตไทยได้เข้าเฝ้าฯ เจ้าชายมอริสแห่งราชวงศ์ออเรนจ์ของเนเธอร์แลนด์ และได้ถวายพระราชสาสน์ของสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อปี 2151 เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศในยุโรปประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญทางการค้าและการเมืองในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการเมืองและการค้ากับไทย

             เมื่อปี 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เยือนเนเธอร์แลนด์ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนเนเธอร์แลนด์อย่าง เป็นทางการ เมื่อปี 2503 ต่อจากนั้น ก็ได้มีการเยือนของพระราชวงศ์ทั้งสองอย่างสม่ำเสมอ

             ในปี 2547 เป็นปีที่มีความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์ เนื่องจากเป็นวาระครบรอบ 400 ปี สัมพันธไมตรี ไทย – เนเธอร์แลนด์ โดยรัฐบาลไทยได้จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อฉลองวาระดังกล่าวในไทย และภาคเอกชนเนเธอร์แลนด์โดยมูลนิธิ VOC เป็นองค์กรผู้ประสานงานจัดกิจกรรมฉลองในเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 -23 มกราคม 2547 สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ พร้อมด้วยเจ้าชายวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ มกุฎราชกุมารแห่งเนเธอร์แลนด์ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นับเป็นการเปิดศักราชแห่งการฉลองฯ และเป็นโอกาสในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น


2 ความคิดเห็น: